พระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยมีความเกี่ยวข้อง กับข้าวไทย อย่างใกล้ชิด ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีหลักฐานที่แสดงให้เห็น ถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศ โดยมีคำจารึก ไว้บน ศิลาจารึกว่า
“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็น “เกษตรบดี” ตามโบราณราชประเพณีที่ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชกรณียกิจในการ สนับสนุนขวัญและกำลังใจแก่ชาวประชาราษฎร์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการปัจจุบันทรงสนพระทัยทะนุบำรุงข้าวไทยมาโดยตลอด เคยมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่กลุ่มผู้นำชาวนาครั้งหนึ่งว่า “ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาและทดลองทำนามาบ้าง และทราบดีว่าการทำนานั้นมีความยากลำบากเป็นอุปสรรคอยู่ใช่น้อย จำเป็นต้องอาศัยพันธุ์ข้าวที่ดีและต้องใช้วิชาการต่าง ๆ ด้วยจึงจะได้ผลเป็นล่ำเป็นสัน อีกประการหนึ่ง ที่นานั้นเมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วควรจะปลูกพืชอื่น ๆ บ้าง เพราะจะเพิ่มรายได้ให้อีกไม่น้อย ทั้งจะช่วยให้ดินร่วน ช่วยเพิ่มปุ๋ยกากพืช ทำให้เนื้อดินดีขึ้น เหมาะสำหรับทำนาในฤดูต่อไป” อันแสดงถึงความสนพระทัยที่ทรงมีต่อพสกนิกรที่เป็นชาวนาชาวไร่โดยตรง และนับเป็นพระราชกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ในการสนับสนุนขวัญและกำลังใจให้แก่ชาวประชาราษฎรของประเทศพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาข้าว ได้เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก
ในเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2539 สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ หรือ I RRI ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเหรียญทอง “International Rice Award” ซึ่งนับเป็นครั้งแรก และคงมีครั้งเดียวที่ IRRI ได้ให้เกียรติบุคคล ที่ทำคุณประโยชน์แก่วงการพัฒนาข้าว ตลอดระยะ เวลากว่าครึ่งศตวรรษ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวได้มีส่วนสำคัญในการส่งเสริม พัฒนาการ ผลิตข้าว สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว ตลอดจนกิจกรรมด้านการเกษตรต่างๆ ทั่วประเทศในเดือนกันยายน พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชาอนุญาต ให้สถาบัน IRRI อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงมอบหมายให้ ฯพณฯ องคมนตรี อำพล เสนาณรงค์ เป็นผู้แทนพระองค์ นำสัญลักษณ์ “The Royal Plaque – The Great Crown of Victory” และพระบรมรูปไปมอบให้กับ IRRI ที่ประเทศฟิลิปปินส์
นับเป็นจุดเริ่มต้นในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวของไทย การประกวดพันธุ์ข้าวครั้งที่สองจัดขึ้นในปี พ.ศ.2451 เป็นการประกวดพันธุ์ข้าวทั่วประเทศที่วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานครและในปี พ.ศ.2453 ทรงให้จัดงาน “การแสดงกสิกรรมและพาณิชการ” ขึ้นเป็นครั้งแรกร่วมกับการประกวดพันธุ์ข้าวที่สระปทุมวัน (วังสระประทุมในปัจจุบัน) และได้มีการจัดงานนี้เป็นครั้งที่สอง ในปี พ.ศ.2454 ปรากฏว่าพันธุ์ข้าวที่ชนะเลิศในการประกวดพันธุ์ข้าวครั้งที่สองที่วัดสุทัศน์เทพวราราม และในงานแสดงกสิกรรมและพาณิชยการทั้งสองครั้ง เป็นพันธุ์ข้าวจากอำเภอธัญบุรี และพันธุ์ข้าวที่ชนะการประกวดครั้งหลัง ๆ มีคุณภาพดีกว่าครั้งแรก ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพันธุ์ข้าวในประเทศไทยได้มีการพัฒนาปรับปรุงให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้นมาโดยตลอด
ข้าวเป็นพืชล้มลุกจัดอยู่ในตระกูลหญ้า (Family: Gramineae หรือ Poaceae) สกุล ออไรซ่า (Genus: Oryza) ข้าวเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนและอบอุ่น มีการแพร่กระจายตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 53 องศาเหนือถึง 35 องศาใต้ และสามารถขึ้นได้ดีตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับสูงประมาณ 2,500 เมตร เนื่องจากข้าวมีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางจึงพบข้าวชนิด (species) ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 23 ชนิดเป็นข้าวปลูกเพื่อบริโภค 2 ชนิด ส่วนที่เหลือเป็นข้าวชนิดป่าทั้งหมด
วัฒนธรรมข้าว
ข้าวมีความสำคัญต่อมนุษย์และสัตว์มาก ประชากรกว่าครึ่งโลกบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักโดยเฉพาะชนชาวเอเชีย ดังนั้นข้าวจึงปลูกมากในเอเชียและใช้บริโภคในเอเชียประมาณ 90% ข้าวที่ปลูกสำหรับบริโภคทั่วโลกมี 2 ชนิด จำนวนมากกว่า 120,000 พันธุ์ คือ ข้าวปลูกเอเชีย (Oryza sativa Linn.) และข้าวปลูกแอฟริกา (O. glaberrima Steud) จากหลักฐานรอยเปลือกข้าวของข้าวเปลือกหรือแกลบที่ฝังอยู่ในหลุมฝังศพหรือในอิฐ
สันนิษฐานได้ว่ามีการปลูกข้าวมาแล้วมากกว่า 5,500 ปี และแหล่งปลูกข้าวที่พบว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดคือที่โนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ข้าวจึงมีความสำคัญต่อชีวิตคนไทยมานานมากกว่า 5,500 ปี จึงอาจกล่าวได้ว่าข้าวคือ ชีวิตของคนไทย จากการที่ข้าวอยู่คู่ชีวิตคนไทยมาตลอด จึงเป็นสาเหตุให้เกิดตำนานวัฒนธรรมข้าวและประเพณีต่าง ๆ เกี่ยวกับข้าวคู่กับชนชาติไทยมาตราบจนปัจจุบัน
ความผูกพันของข้าวกับคนไทยจึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้งที่มีความเกี่ยงข้องกับข้าวโดยตรง และได้จากการสะสมประสบการณ์ ความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดและ/หรือสร้างระบบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ถือปฏิบัติต่อกันมา
นอกจากจะมีความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณของข้าวแล้ว การบูชาเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เพื่อการผลิตข้าวที่ดีก็เป็นบ่อเกิดของประเพณีต่าง ๆ ในการขอฝน เช่น พิธีแห่นางแมว พิธีแห่บั้งไฟ และพิธีเลี้ยงผีฝาย เป็นต้น
การใช้แรงงานในการผลิตข้าว สมัยก่อนจะมีประเพณีลงแขก ประเพณีเอาแรง ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันด้วยน้ำใจไมตรีอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นประเพณีที่น่าภาคภูมิใจของคนไทย ปัจจุบันยังมีอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก นอกจากนี้ข้าวยังเป็นบ่อเกิดการละเล่น และเพลงพื้นบ้านต่าง ๆ เช่น เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงสงฟาง และเพลงเกี่ยวข้าว เป็นต้น